โตโยต้าแถลงยอดขายตลาดรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2564
พร้อมคาดการณ์ตลาดรวมอยู่ที่ 800,000 คัน
มร.โนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2564 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2564 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564
มร.ยามาชิตะ กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดในระลอกล่าสุดที่มีความรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม และส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เรายังคงมุ่งหวังว่าสถานการณ์ต่างๆจะฟื้นตัวดีขึ้น จากความพยายามของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา ควบคู่ไปกับแผนการฉีดวัคซีนสำหรับคนไทย ซึ่งจะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม”
มร.ยามาชิตะ กล่าวต่อไปว่า “แม้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจะยังคงได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 แต่บรรดาบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ทั้งหลาย ก็ได้มีความพยายามในการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆในเชิงรุก เห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์จากงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 42 ที่ผ่านมา ตลอดจนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้มีส่วนช่วยคลายความวิตกกังวลของผู้บริโภคและกระตุ้นให้เกิดใช้จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขยอดขายตลาดรวมในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 373,191 คัน เพิ่มขึ้น 13.6% จากยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว”
สถิติการขายรถยนต์ในประเทศ
ม.ค. – มิ.ย. 2564 |
ยอดขายปี 2564 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการขายรวม | 373,191 คัน | +13.6 % |
รถยนต์นั่ง | 120,351 คัน | + 0.5 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 252,840 คัน | + 21.0 % |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 196,934 คัน | + 18.3 % |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 168,993 คัน | + 13.1% |
“สำหรับผลการดำเนินงานของโตโยต้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 มียอดขายโดยรวมเพิ่มขึ้น 24.4% หรือ คิดเป็นจำนวน 117,185 คัน ซึ่งถือได้ว่าดีกว่าอัตราการฟื้นตัวของตลาด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทฯ จะเผชิญกับความยากลำบากมากมายในปีที่ผ่านมา แต่ยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 31.4% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตัวเลข 28.7% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว สืบเนื่องจากกลยุทธ์การขายแบบใหม่ของเรา ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งรวมถึงการเสริมความเข้มแข็งในส่วนกลยุทธ์การขายบนช่องทางออนไลน์และการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ตลอดจนความพยายามในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆของเราในช่วงแรกของปีนี้
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า
ม.ค. – มิ.ย. 2564 |
ยอดขายปี 2564 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2563 |
ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขายรวม | 117,185 คัน | + 24.4 % | 31.4 % |
รถยนต์นั่ง | 29,703 คัน | – 0.7 % | 24.7 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 87,482 คัน | + 36.1 % | 34.6 % |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 74,141 คัน | + 31.8 % | 37.6 % |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 61,833 คัน | + 24.6 % | 36.6 % |
สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2564 มร.ยามาชิตะคาดการณ์ว่า “มีหลากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางของตลาดรถยนต์ในปีนี้ อาทิ สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกล่าสุด การเข้าถึงวัคซีนของประชาชน รวมถึงแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ตลอดจนการสนับสนุน จากองค์กรเอกชนทุกภาคส่วนที่ผนึกกำลังในการร่วมคลี่คลายสถานการณ์ เรามีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้ จะสามารถฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงคาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ 800,000 คัน เพิ่มขึ้น 1 % เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564 | ยอดขาย
ประมาณการปี 2564 |
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการขายรวม | 800,000 คัน | + 1 % |
รถยนต์นั่ง | 271,000 คัน | – 1.4 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 529,000 คัน | + 2.3 % |
มร.ยามาชิตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโตโยต้า เรามีเป้าหมายการขายในปี 2564 อยู่ที่ 260,000 คัน หรือคิดเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้น 6.4 % จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดที่ 32.5% แม้ว่าเราจะเผชิญปัญหาจากสถานการณ์โควิด-19 แต่เรายังคงเชื่อมั่นว่า จากความพยายามของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยอดขายบนช่องทางออนไลน์ แพ็คเกจการให้บริการที่ทำให้ลูกค้าสามารถ “เป็นเจ้าของรถยนต์ได้ง่ายขึ้น” และมาตรการเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าในเรื่องการดูแลสุขอนามัย ทั้งในโชว์รูมและศูนย์บริการ รวมทั้งการให้บริการทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในรถยนต์ ตลอดจนความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วประเทศ จะมีส่วนช่วยให้เราได้รับความเชื่อมั่นและการสนับสนุนจากลูกค้าเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายของเราได้เป็นผลสำเร็จ”
ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2564 | ยอดขาย
ประมาณการปี 2564 |
เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2563 |
ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขายรวม | 260,000 คัน | + 6.4 % | 32.5 % |
รถยนต์นั่ง | 67,000 คัน | -1.7% % | 24.7 % |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 193,000 คัน | + 9.6 % | 36.5 % |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 166,800 คัน | + 11.5 % | 40.2 % |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 142,000 คัน | + 9.3 % | 39.6 % |
สำหรับปริมาณการส่งออกของโตโยต้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 บริษัทฯได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 141,909 คัน เพิ่มขึ้น 46% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยมียอดการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 258,365 คัน เพิ่มขึ้น 50% จากปีที่แล้ว
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป
และการผลิตของโตโยต้า ม.ค. – มิ.ย. ปี 2564 |
ปริมาณปี 2564 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการส่งออก | 141,909 คัน | + 46% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ | 258,365 คัน | + 50% |
ทั้งนี้สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปีนี้ คาดการณ์ว่าปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 322,000 คัน เพิ่มขึ้น 50 % จากปีที่แล้ว จากสัญญาณการฟื้นตัวในตลาดต่างประเทศ ด้วยปัจจัยต่างๆ อาทิ เช่น อัตราการลดลงของผู้ป่วยโควิด-19 ความคืบหน้าของแผนการฉีดวัคซีน และแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในประเทศต่างๆ
ส่วนในด้านการผลิตนั้น มองว่ามีแนวโน้มดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า จากความต้องการของลูกค้าในตลาดต่างประเทศซึ่งมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น ดังนั้นปริมาณการผลิตรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 580,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 31 % จากปีที่แล้ว ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับเป้าหมายการขายของทั้งในประเทศและส่งออก
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป
และการผลิตของโตโยต้าปี 2564 |
ปริมาณปี 2564 | เปลี่ยนแปลง
เทียบกับปี 2563 |
ปริมาณการส่งออก | 322,000 คัน | + 50 % |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ | 580,000 คัน | + 31 % |
มร.ยามาชิตะ ยังได้กล่าวอีกด้วยว่า ” ภายใต้การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย โตโยต้ายังคงเดินหน้าสนับสนุนและเคียงข้างสังคมไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน ผ่านโครงการ ‘Toyota Stay with You’ ซึ่งเราได้ส่งมอบรถยนต์โตโยต้าให้กับกระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ระหว่างการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ จากการที่บริษัทฯได้ร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วประเทศ เราได้ให้บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในรถยนต์โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ให้แก่ลูกค้ารถยนต์ทุกยี่ห้อไปแล้วกว่า1,300,000 คัน จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ เรายังมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การบริการ และกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความใส่ใจสูงสุดในด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงาน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด อีกทั้งเราได้มีการว่าจ้างพนักงานในส่วนของสายงานการผลิตเพิ่มมากกว่า 400 อัตรา เพื่อกระตุ้นการจ้างงานในตลาดแรงงานไทยในปัจจุบัน รวมทั้งยังมีแผนที่จะจ้างงานเพิ่มในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นของเราที่จะมีส่วนช่วยบรรเทาสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และเรายังคาดหวังว่าอุตสาหกรรมยานยนต์จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมไทยและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจในอนาคต”
มร.ยามาชิตะ กล่าวปิดท้ายว่า “เราขอแสดงความขอบคุณต่อภาครัฐ และลูกค้าทุกท่านตลอดจนผู้มีส่วนร่วมทุกท่าน สำหรับการสนับสนุนที่ท่านได้กรุณามอบให้กับพวกเรามาโดยตลอด แม้ในช่วงเวลาอันยากลำบากเช่นนี้ก็ตาม เรายังคงยืนหยัดเดินหน้าตามแนวทางสากลของโตโยต้าในการยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของการผลิตและส่งออกรถยนต์ในระดับภูมิภาค ตลอดจนเดินหน้าสร้างความเจริญเติบโตให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป เพื่อคนไทย”
โตโยต้า ขับเคลื่อนความสุข
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมิถุนายน 2564
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,974 คัน เพิ่มขึ้น 9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 22,337 คัน เพิ่มขึ้น 67.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,098 คัน ลดลง 15.4% ส่วนแบ่งตลาด 21.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,339 คัน เพิ่มขึ้น 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.3%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 22,538 คัน เพิ่มขึ้น 3%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 6,422 คัน เพิ่มขึ้น 33.3% ส่วนแบ่งตลาด 28.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 5,414 คัน ลดลง 12.7% ส่วนแบ่งตลาด 24.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 1,821 คัน เพิ่มขึ้น 30.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 42,436 คัน เพิ่มขึ้น 8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,923 คัน เพิ่มขึ้น 97.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,098 คัน ลดลง 15.4% ส่วนแบ่งตลาด 33.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,721 คัน เพิ่มขึ้น 57.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 33,169 คัน เพิ่มขึ้น 12.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,472 คัน เพิ่มขึ้น 96.2% ส่วนแบ่งตลาด 43.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,564 คัน ลดลง 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,721 คัน เพิ่มขึ้น 57.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 3,811 คัน โตโยต้า 1,768 คัน, อีซูซุ 1,142 คัน, มิตซูบิชิ 453 คัน, ฟอร์ด 391 คัน, นิสสัน 57 คัน
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,358 คัน เพิ่มขึ้น 10.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,704 คัน เพิ่มขึ้น 107.8% ส่วนแบ่งตลาด 43.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,422 คัน ลดลง 23.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,330 คัน เพิ่มขึ้น 64.8% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มิถุนายน 2564
- ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 373,191 คัน เพิ่มขึ้น 13.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 117,185 คัน เพิ่มขึ้น 24.4% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 93,165 คัน เพิ่มขึ้น 22.5% ส่วนแบ่งตลาด 25.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 42,715 คัน เพิ่มขึ้น 3.4% ส่วนแบ่งตลาด 11.4%
- ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 120,351 คัน เพิ่มขึ้น 0.5%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 36,586 คัน เพิ่มขึ้น 6.0% ส่วนแบ่งตลาด 30.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 29,703 คัน ลดลง 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 24.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 11,294 คัน ลดลง 10.7% ส่วนแบ่งตลาด 9.4%
- ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 252,840 คัน เพิ่มขึ้น 21.0%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 93,165 คัน เพิ่มขึ้น 22.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 87,482 คัน เพิ่มขึ้น 36.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 16,296 คัน เพิ่มขึ้น 41.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
- ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV)
ปริมาณการขาย 196,934 คัน เพิ่มขึ้น 18.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 85,021 คัน เพิ่มขึ้น 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 43.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 74,141 คัน เพิ่มขึ้น 31.8% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 16,296 คัน เพิ่มขึ้น 41.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%
ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 27,941 คัน โตโยต้า 12,308 คัน, อีซูซุ 9,392 คัน, มิตซูบิชิ 3,532 คัน, ฟอร์ด 2,536 คัน, นิสสัน 173 คัน
- ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 168,993 คัน เพิ่มขึ้น 13.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 75,629 คัน เพิ่มขึ้น 11.8% ส่วนแบ่งตลาด 44.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 61,833 คัน เพิ่มขึ้น 24.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 13,760 คัน เพิ่มขึ้น 46.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%