ปอร์เช่ ประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตใหม่ล่าสุดสำหรับ ไทคานน์ (Taycan)
นวัตกรรมศูนย์พ่นสีและตัวถัง ยกระดับคุณภาพยนตรกรรมสปอร์ตและลดระดับความเครียดของบุคลากร
Porsche AG พัฒนากระบวนการผลิตใหม่ที่สำนักงานใหญ่ เมือง Zuffenhausen โดยร่วมมือกับTesa SE. ผลจากกระบวนการดังกล่าว ช่วยให้รูหรือรอยบุบที่เกิดขึ้นบนตัวถังรถยนต์เรียบเนียน เพื่อเตรียมไปสู่ขั้นตอนการป้องกันการผุกร่อนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างมาก หลุมที่เกิดขึ้นบนตัวถังคือภารกิจที่ศูนย์พ่นสีและตัวถังจะต้องจัดการให้เรียบร้อย นวัตกรรมที่ได้รับการคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหานี้คือการอุดแบบ sealing patches แทนแบบ plastic plugs รถสปอร์ตพลังงานไฟฟ้าปอร์เช่ ไทคานน์ (Porsche Taycan) จึงเป็นรถยนต์คันแรกของโลกที่ใช้กระบวนการดังกล่าวในการผลิต หุ่นยนต์จะทำหน้าที่ติดตั้ง sealing patches มากกว่า 100 ตำแหน่งด้วยระบบอัตโนมัติ จึงทำให้กระบวนการตกแต่งตัวถังมีความรวดเร็วยิ่งขึ้นส่งผลให้ประสิทธิภาพของสายพานการผลิตรถยนต์ปอร์เช่ เป็นไปในทิศทางที่ดีและสามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ได้
“นวัตกรรม คือสิ่งที่ผลักดันให้เราประสบความสำเร็จตลอดมา” Albrecht Reimold สมาชิกคณะกรรมการบริหาร ผู้กำกับดูแลส่วนงานการผลิตและโลจิสติกส์ ของ Porsche AG กล่าวต่อไปอีกว่า “นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นจากความเชี่ยวชาญที่จำเป็นต้องอาศัยความมุ่งมั่นและความคิดสร้างสรรค์อันไร้ขอบเขตจำกัด นั่นคือบทบาทหน้าที่ของฝ่ายบริหารที่จะต้องส่งเสริมให้บรรยากาศในการทำงานทุกๆ วันของบริษัทเอื้ออำนวยต่อทุกกระบวนการทำงานภายในบริษัท” ส่วนงาน Porsche Innovation Management คำนึงถึงประโยชน์ในการนำ sealing patches มาใช้ โดยเริ่มตั้งแต่เดือน กรกฎาคม ปี 2020 มากกว่า 2 ใน 3 หรือประมาณ 150 plugs ซึ่งเป็นกระบวนการเก่าที่ใช้ในศูนย์พ่นสีและตัวถังของไทคานน์ (Taycan) ถูกยกเลิกไป ในอนาคตศูนย์สีและตัวถังที่โรงงาน Leipzig จะเปลี่ยนเป็นกระบวนการดังกล่าวภายในฤดูร้อนปี 2021 เช่นเดียวกัน
“กระบวนการดังกล่างคือสิ่งสำคัญที่จะไม่สับสนระหว่างกระบวนการ adhesive solution ของปอร์เช่กับ Tesa tape ที่ทุกคนรู้จักกันดีในฐานะผู้ให้บริการอุปกรณ์สำนักงานของพวกเขานั่นเอง” Dirk Paffe หัวหน้างานวางแผนศูนย์สีและตัวถัง ผู้รับผิดชอบการประยุกต์ใช้นวัตกรรม อธิบายเพิ่มเติม “เมื่อ Tesa sealing patches ได้ถูกนำมาใช้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ความพยายามของพวกเขาบรรลุผลสำเร็จอย่างยอดเยี่ยม สิ่งที่เราได้รับคือวิธีการแก้ปัญหาระยะยาวในการทำให้ Tesa sealing patches ทนทานต่อความเค้นที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของรถยนต์และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งกว่าตัวรถ”
นวัตกรรมดังกล่าวยังช่วยลดความตึงเครียดให้แก่บุคลากรผู้ปฏิบัติหน้าที่ การนำอุปกรณ์ Tesa patches มาใช้สามารถลดขั้นตอนการทำงานที่ก่อให้เกิดความเครียดจากการติดตั้ง plugs เพื่ออุดหลุมบนตัวถังมากถึง 3,600 ครั้งต่อ 1 รอบ นอกจากนี้ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานโดยรวมและส่งผลต่อความได้เปรียบด้านโลจิสติกส์ ช่วยลดความยุ่งยากและซับซ้อนลง เนื่องจาก patch ขนาดเดียว สามารถใช้กลบหลุมบนตัวถังได้หมดทั้ง 4 ลักษณะ ยิ่งไปกว่านั้น ขนาดความหนาเพียง 1 มิลลิเมตรทำให้ตัว patches แทบจะไม่มีส่วนนูนออกมาเลย ในขณะที่การใช้ plugs อุดแบบเดิมจะทำให้เกิดส่วนนูนจากตัวถัง รถยนต์สูงสุดถึง 6 มิลลิเมตร นอกจากนี้ตำแหน่งการติดตั้ง patches ยังมีความแม่นยำสูง เนื่องจากการใช้หุ่นยนต์พิเศษในการติดตั้งอีกด้วย
“Tesa ถือกำเนิดมานานกว่า 20 ปี เปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ในการสร้างสรรค์อุปกรณ์เชื่อมประสานสำหรับการกลบหลุมผ่านระบบอัตโนมัติด้วยแผ่น sealing patches ทั้งในกระบวนการผลิตจนถึงกระบวการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Tesa” Dr Ute Ellringmann ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้รับผิดชอบส่วนงาน hole sealing ของ Tesa กล่าวแสดงความคิดเห็น “เราสามารถมั่นใจได้ในความสมบูรณ์แบบของอุปกรณ์ sealing patches ทั้งด้านคุณภาพในระดับสูงสุดและการยกระดับประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต”
Porsche Innovation Management
หัวใจสำคัญที่ก่อให้เกิดไอเดียอันยอดเยี่ยม คือวิสัยทัศน์อันชาญฉลาดที่มีต่ออนาคตของบริษัท ด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าว Porsche Innovation Management จึงถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2016 โดยทีมงานของโครงการที่เต็มไปด้วยความคล่องแคล่ว และพร้อมที่จะแสวงหาวิธีการในการพัฒนาให้สิ่งใหม่เกิดขึ้น ปอร์เช่ได้สนับสนุนกองทุนแก่นักพัฒนาและช่วยกำกับดูแลให้ทำการทดลองและทดสอบภายในองค์กรตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สิ่งเหล่านี้ก้าวไกลและครอบคลุมมากเกินกว่าการเพียงการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรถแข่งสายสนามมายังรถในสายการผลิตปกติ เพราะการขับเคลื่อนนวัตกรรมเป็นหนึ่งในหลักปรัชญาที่ฝังลึกลงในแผนกลยุทธ์ระยะยาวของ Porsche’s Strategy 2030 และเป็นประเด็นในเชิงบูรณาการที่สำคัญมีผลต่อเนื่องในทุกแผนกรวมทั้งบริษัทย่อยทั้งหมดในประเทศเยอรมนีและทั่วโลก นอกเหนือจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการผลิตและการพัฒนาด้าน Innovation Management ยังมีบทบาทในส่วนของประเด็นแวดล้อมทางธุรกิจที่ส่งผลกระทบในวงกว้าง การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยของยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า การแก้ไขปัญหาด้านรถยนต์อย่างยั่งยืน และผลกระทบของ digitalisation ที่เกิดขึ้นกับองค์กร ลูกค้า และยนตรกรรมสปอร์ตปอร์เช่ แนวคิดที่มีแนวโน้มยกระดับกลายเป็นนวัตกรรมจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ข้อ: 1. ต้องเกิดขึ้นใหม่ ไม่ซ้ำแบบใคร 2. ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อลูกค้า และสุดท้าย ต้องสร้างเสริมคุณค่าให้แก่บริษัทอย่างแท้จริง ปอร์เช่มีกองทุนพร้อมสนับสนุนโครงการเหล่านี้ 80 ถึง 100 โครงการต่อปี ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ของกระบวนการล้วนเดินทางมาถึงขั้นตอนของการพัฒนาแล้วทั้งสิ้น