นิสสันยืนยันรถยนต์ไฟฟ้าสามารถช่วยโลกลดมลพิษได้จริง ในวันปลอดมลพิษโลก

นิสสันอธิบายความสามารถของรถยนต์ไฟฟ้าที่จะช่วยบรรลุเป้าหมายของการลดก๊าซเรือนกระจก ปริมาณ 4.5 เมตริกตันต่อคัน ในแต่ละปีได้อย่างไร ในวันสากลระดับโลกที่มุ่งลดการปล่อยมลพิษ

เพื่อร่วมเป็นเกียรติในวันปลอดมลพิษโลก หรือ Zero Emissions Day 2019 ในปีนี้ ทั่วทุกมุมโลกได้มีการเคลื่อนไหวมุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนต่างๆ โดยนิสสันได้ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนการลดการปล่อยมลพิษ พร้อมแบ่งปันวิสัยทัศน์ของการขับเคลื่อน ด้วยข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่รถยนต์ไฟฟ้าจะสามารถมีบทบาทในการควบคุมการปล่อยมลพิษต่างๆ ในระดับโลก

ในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของโลก ที่ขับอยู่บนท้องถนนโดยไม่มีการปล่อยมลพิษมาแล้วกว่า 11 พันล้านกิโลเมตร เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้านิสสัน ลีฟ (Nissan LEAF) ทั่วโลก ได้ประหยัดน้ำมันโดยเฉลี่ย 3.8 ล้านบาร์เรลต่อปี นั่นเทียบเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากกว่าหนึ่งล้านเมตริกตัน ที่จะถูกปล่อยมาจากการขับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปจากน้ำมันเชื้อเพลิงในระยะทางเท่าๆ กัน ในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล

“ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ในระดับโลก เราตระหนักถึงบทบาทของเราในการกำหนดอนาคตที่มีวิสัยทัศน์ของการเคลื่อนที่ ที่มุ่งสู่การปล่อยมลพิษให้เป็นศูนย์” ยูทากะ ซานาดะ รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคนิสสันเอเชียและโอเชียเนีย (Yutaka Sanada, Regional Senior Vice President, Nissan Asia and Oceania) กล่าว “ในวันปลอดมลพิษโลกนี้จะเป็นอีกวันหนึ่งที่โลกจะได้พักผ่อนอย่างมีความสุข ขณะที่นิสสัน เราเชื่อว่า นี่เป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างแรงบันดาลใจ ให้เราค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาเพื่อลดมลพิษในอนาคต นิสสันเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้ามานานกว่า 70 ปี และเราเชื่อว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายนั้นเป็นวิธีหนึ่ง ที่จะนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นิสสัน ลีฟ มียอดขายสะสมมากกว่า 430,000 คันทั่วโลกเป็น รถยนต์ไฟฟ้าไม่ปล่อยก๊าซไอเสียระหว่างการขับขี่ ยังสามารถช่วยประหยัดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ได้ถึง 4.5 เมตริกตัน ต่อคัน ต่อปี เราภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำในการเดินทางครั้งนี้และเชื่อว่าภาวะของ ‘ศูนย์สุทธิ’ หรือ ‘Net Zero’ จะต้องกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสนใจ” 

Mr.Yutaka Sanada RSVP of Nissan Asia and Oceania

การปล่อยมลพิษ คืออะไร?

ก๊าซและอนุภาคที่ถูกปล่อยสู่อากาศ โดยถูกปล่อยออกมาจากแหล่งต่างๆ ที่หลากหลายแหล่ง โดยการปล่อยมลพิษจะถูกแบ่งออกเป็นสี่ประเภทตามแหล่งที่มาได้แก่ : แบบเฉพาะสถานที่ (point) แบบเคลื่อนที่ (mobile) แบบที่เกิดจากสารพิษในกระบวนการทางชีวภาพ (Biogenic) และจากพื้นที่ต่างๆ (area)

วันปลอดมลพิษโลก หรือ Zero Emissions Day คืออะไร?

ริเริ่มในปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) โดยกำหนดให้วันที่ 21 กันยายน ของทุกปี เป็น วันปลอดมลพิษโลก หรือ Zero Emissions Day หรือเรียกย่อๆว่า “ZeDay” โดยเป็นวันที่มุ่งการหยุดปล่อยมลพิษทั้งหมดเพื่อให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อมโยงทั่วโลกในการสร้างอนาคตที่ดีกว่า

ทำไมวันนี้ถึงมีความสำคัญ?

ในปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา มีรายงานที่ได้บันทึกความแตกต่างที่มากที่สุดระหว่างที่โลกอยู่ในขณะนี้ และจำนวนพื้นที่ ที่จะต้องมีเพื่อบรรจุก๊าซเรือนกระจกและสามารถรักษาอุณหภูมิของโลกนี้ ให้อยู่ในช่วงที่ปลอดภัย

ไม่เพียง แต่ วันปลอดมลพิษโลก หรือ ‘ZeDay’ ที่มีความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วยเช่นกัน มลพิษทางอากาศที่อยู่รอบๆตัวเรา ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัย อันดับต้นๆในปัจจุบันอีกด้วย โดยประชากรโลกกว่า 91% อาศัยอยู่ในสถานที่ ที่มีค่ามลพิษทางอากาศสูงกว่าแนวทางคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งอากาศที่ไม่สะอาดก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรถึงกว่า 4.2 ล้านคนต่อปี จากโรคหัวใจ โรคปอด และโรคเบาหวาน 

มลพิษที่เป็นศูนย์ …เริ่มต้นที่ตัวคุณ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ด้วยการใช้พลังงานไฟฟ้า อันเป็นวิธีแก้ปัญหาสำคัญเพื่อให้คุณได้เฉลิมฉลอง วันปลอดมลพิษโลก หรือ Zero Emissions Day และเริ่มต้นการปล่อยมลพิษที่เป็นศูนย์ในอนาคตรวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีอื่นๆ ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ท่านสามารถดูได้จากภาพอินโฟกราฟฟิก ที่แนบมาพร้อมกันนี้