นิสสัน ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส

ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน

นิสสัน มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่นประกาศร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโทโฮคุพัฒนาเทคโนโลยีช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสด้วยการใช้วิธีเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน[1]

เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพในการยับยั้งไวรัสด้วยวิธีการออกซิไดซ์ คือ การทำให้โปรตีน และสารอื่นๆ บนผิวของไวรัสเสื่อมสภาพ และสลาย ด้วยออกซิเจนในอากาศที่ทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไดซ์ ชนิดของตัวเร่งปฏิกิริยาส่งผลกระทบแม้อยู่ในสภาวะที่มืด ภายใต้อุณหภูมิห้องโดยไม่ต้องใช้การฉายรังสี ตามปกติในกรณีของการเกิดออกซิเดชันทั่วไป

นอกจากการยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัส อาทิ โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ และไวรัสต่างๆ เทคโนโลยีนี้ยังสามารถยับยั้งเชื้อโรค เช่น เชื้อราและแบคทีเรียได้ มีศักยภาพสำหรับการใช้งานที่หลากหลายในอนาคต รวมถึงใช้เป็นวัสดุพื้นฐานเพื่อต้านเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสในเครื่อง หรือแผ่นกรองสำหรับอุปกรณ์เครื่องปรับอากาศ และเครื่องฟอกอากาศ ตลอดจนในหน้ากาก และผลิตภัณฑ์อย่างสิ่งทอต่างๆ ที่ใช้ในทางการแพทย์

เทคโนโลยีนี้ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของอนุมูลอินทรีย์ไนตรอกซิล (nitroxyl) ซึ่งเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแบบรุนแรง ทำการออกซิไดซ์สารประกอบอินทรีย์ในที่ที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมที่เหมาะสม โดยใช้โมเลกุลออกซิเจนในอากาศที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมให้ทำหน้าที่เป็นตัวออกซิไดซ์

การศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีนี้พบว่า เกลือออกโซแอมโมเนียมที่ผลิตจากตัวเร่งปฏิกิริยาแบบรุนแรงผ่านการออกซิเดชันแบบแอโรบิก ออกซิไดซ์ และการยับยั้งโปรตีนพื้นผิวของไวรัส ซึ่งช่วยลดความสามารถในการจับกับเซลล์เป้าหมาย นอกจากนี้ การประมวลผลการจับตัวรับของโปรตีนป้องกัน SARS-CoV2 (สายพันธุ์โอไมครอน) ช่วยลดการจับของโปรตีนป้องกันกับตัวรับอย่างมีนัยสำคัญ  (ตามรูปประกอบ) การใช้   โคโรนาไวรัส ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ของไวรัส SARS-CoV2 กรณีการติดเชื้อในเซลล์ไตของแมวได้รับการประเมิน และสังเกตการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงทางสัณฐานวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อในเซลล์อย่างเห็นได้ชัด

เทคโนโลยีนี้สร้างขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และความเชี่ยวชาญของนิสสันในการพัฒนายานยนต์ และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยโทโฮคุ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการประเมินยาต่างๆ รวมถึงวิทยาศาสตร์ด้านเภสัชกรรมต่างๆ การเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยา และการประเมินประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา

ตัวเร่งปฏิกิริยาแบบรุนแรง ถูกใช้เป็นสารเติมแต่งในวัสดุฐานพอลิเมอร์ของสีรถยนต์ เช่นเดียวกับในเส้นใยและวัสดุ พอลิเมอร์อินทรีย์ที่ใช้ในภายใน และภายนอกของรถยนต์ สารชนิดนี้สามารถยับยั้งปฏิกิริยาการย่อยสลายด้วยแสง (เช่น การแตกร้าว การเปราะบาง การซีดจาง) เป็นระยะเวลานานได้ นิสสันได้ตั้งใจทำการวิจัยและพัฒนาการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดรุนแรงเพื่อยับยั้งไวรัส ซึ่งอยากให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีส่วนร่วมในสังคมต่อไป

[1] ปฏิกิริยาเคมีการรวมตัวของออกซิเจนเข้ากับสารอย่างหนึ่ง หรือการกำจัดไฮโดรเจนออกจากสารนั้น ๆ