อีกระดับแห่งความเร้าใจ: ปอร์เช่ 911 GT3 Cup รุ่นใหม่ แข็งแกร่งและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ยนตรกรรมสายพันธุ์สปอร์ตคันล่าสุด สำหรับการแข่งขัน Porsche one-make cups

ปอร์เช่เผยโฉมเจเนอเรชันล่าสุดของรถแข่งที่มียอดจำหน่ายสูงที่สุดในโลก ปอร์เช่ (911 จีที3 คัพ) พร้อมแล้วสำหรับการออกสตาร์ทประลองความเร็วในฤดูกาล 2021 รถแข่งรุ่นนี้คือ ส่วนหนึ่งของแคมเปญพิเศษในรายการ Porsche Mobil 1 Supercup เช่นเดียวกับการแข่งขันระดับนานาชาติอย่าง Porsche Carrera Cups ซึ่งจัดขึ้นในประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส ทวีปเอเชีย เบเนลักซ์ และเป็นครั้งแรกในทวีปอเมริกาเหนือ ด้วยรูปทรงตัวถังที่ดุดัน เร้าใจสไตล์รถเเข่งเเบบเต็มพิกัด พัฒนาต่อยอดจากพื้นฐานของรุ่น 992 ซึ่งนับเป็นรุ่นแรกที่ปอร์เช่ดัดแปลง ให้เป็นรถแข่งด้วยตัวถังกว้างแบบ wide turbo-spec body พกพาพละกำลังสูงสุดประมาณ 510 แรงม้า (375 กิโลวัตต์) หรือแรงขึ้นอีกกว่า 25 แรงม้า เมื่อเปรียบเทียบกับตัวแข่งรุ่นก่อนหน้า ยิ่งไปกว่านั้น รถแข่ง  จีที3 คัพ (GT3 Cup) รุ่นใหม่สามารถใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบสังเคราะห์ ซึ่งให้ผลในการลดมลภาวะจากคาร์บอนไดออกไซด์ได้ตามเงื่อนไข ข้อจำกัดของการแข่งขันระยะเวลาต่อรอบที่รถแข่ง 911 คันนี้ทำได้นั้นมีแนวโน้มที่จะเร็วกว่าเดิมประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเส้นทางในแต่ละสนาม ตัวรถจะได้รับการส่งมอบถึงมือทีมแข่งต่างๆ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2021 เป็นต้นไป

ในอดีตปอร์เช่เคยนำเสนอรถแข่งสายพันธุ์ 911 Cup ครั้งแรกเมื่อปี 1990 เป็นการนำเอาพื้นฐานโครงสร้าง ของรถปอร์เช่ รหัสตัวถัง 964 มาพัฒนาต่อ และนำลงสนามอย่างเป็นทางการฤดูกาลแรกในรายการ Porsche Carrera Cup ประเทศเยอรมนี ด้วยพละกำลัง 260 แรงม้าในขณะนั้น  จนกระทั่งปี 1993 รถแข่งดังกล่าวได้รับการบรรจุให้ลงสนาม ในรายการใหม่อย่าง Porsche Supercup ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการแข่งขัน Formula 1 นับจากนั้น เป็นต้นมา ทายาทผู้สืบทอดเกียรติประวัติแห่งความสำเร็จสูงสุดในฐานะรถแข่ง ได้เปิดตัวต่อมาอีก 5 เจเนอเรชัน บันทึกสถิติรถแข่ง ที่มียอดการผลิตสูงสุดตลอดกาลจำนวนทั้งสิ้น 4,251 คัน

“ปอร์เช่ 911 สร้างประวัติศาสตร์จากการเป็นรถยนต์รุ่นพื้นฐานสำหรับใช้ในการแข่งขัน Carrera Cups และ Porsche Mobil 1 Supercup  ไม่มีรถแข่งคันไหนที่สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ดีเยี่ยมเทียบเท่ากับ 911นับตั้งแต่ปี 1990” Michael Dreiser, ผู้อำนวยการฝ่ายขายของ Porsche Motorsport กล่าวว่า “รถแข่งปอร์เช่  911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup) รุ่นล่าสุด คือการเริ่มต้นตำนานบทใหม่ เป้าหมายของเราคือการบรรลุยอดการผลิตมากกว่า 5,000 คัน ในปี 2021 เช่นเดียวกันกับรุ่นบรรพบุรุษของ  911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup) รถยนต์คันนี้ยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการช่วยยกระดับฝีมือแก่นักแข่งดาวรุ่งมากความสามารถ ให้ก้าวขึ้นสู่เส้นทางความเป็นมืออาชีพในวงการ มอเตอร์สปอร์ต ได้อย่างสง่างามรวมทั้งเป็นการรักษาพันธสัญญาที่ปอร์เช่ยึดมั่นในแนวทางการทำงานเพื่อตอบสนอง แฟนมอเตอร์สปอร์ตจากทั่วทุกมุมโลก”

การสร้างรถแข่งรุ่นล่าสุด เริ่มเป็นรูปเป็นร่างในปี 2018 แผนการพัฒนาที่แน่นอนถูกกำหนดขึ้นในช่วงต้นปี 2019 โดยมี Jan Feldmann ผู้จัดการโครงการ ทำหน้าที่หัวเรือใหญ่ในการนำพาทีมให้บรรลุเป้าหมายหลัก ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุง ด้านสมรรถนะ งานออกแบบที่เน้นความกร้าวแกร่งดุดัน การควบคุมที่ง่ายยิ่งขึ้นรวมทั้งความทนทานสูงสุดที่มาพร้อมกับ ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ลดลง ผลลัพธ์ที่ออกมาปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัดจากความยอดเยี่ยม เหนือระดับของรถแข่งคันใหม่ ทำหน้าที่สานต่อความสำเร็จเช่นเดียวกับกับรถเเข่งรุ่นพี่ซึ่งก่อกำเนิดขึ้นจากสายการผลิต จากโรงงาน Stuttgart-Zuffenhausen เคียงข้างกับปอร์เช่ 911 คันอื่น

“เราต้องการวางตำแหน่งของ 911 จีที3 คัพ ใหม่ (The new 911 GT3 Cup) ให้เป็นรถแข่งที่ใกล้เคียงคำว่ามืออาชีพ พร้อมกับการเพิ่มความคุ้มค่าต่อเงินลงทุนสำหรับทีมแข่งที่นำไปลงสนาม” Feldmann อธิบายเพิ่มเติม “จนถึงจุดนี้เราถือ ว่าประสบความสำเร็จมาได้ในระดับหนึ่งต้องยกประโยชน์ให้รูปทรงภายนอกที่โดดเด่นน่าประทับใจระบบช่วงล่างที่ ได้รับการปรับปรุงใหม่และระบบไฟฟ้าอันชาญฉลาดการควบคุม 911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup) ที่สามารถรู้สึกได้ถึงความแม่นยำ และประสบการณ์ในการขับขี่ที่สนุกมากยิ่งขึ้น จากสมรรถนะอันยอดเยี่ยม และห้องโดยสารที่ผ่านการปรับแต่งใหม่ 911จีที3 คัพ (911 GT3 Cup)  คือ รถแข่งที่ดีที่สุดเท่าที่ปอร์เช่เคยสร้างขึ้นมา”

หนึ่งในอุปกรณ์ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดของ 911 จีที3 คัพ ใหม่ (The new 911 GT3 Cup)  คือระบบอากาศพลศาสตร์ ที่เหมาะสมและรูปทรงตัวถังภายนอกที่ให้ภาพลักษณ์กร้าวแกร่งดุดัน ทั้งหมดนี้สามารถสร้างความประทับใจได้เพียง แรกสายตาสัมผัส ต้องยกความดีให้เเก่ตัวถังกว้าง turbo-spec body และน้ำหนักเบา ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นครั้งเเรก ในรถแข่ง มิติความกว้างรวม 1,902 มิลลิเมตร มากกว่าความกว้างช่วงตัวถังด้านหลังของรุ่นก่อนหน้าถึง 28 มิลลิเมตร และแตกต่างด้วยการเพิ่มช่องรับอากาศ cooling air inlets บริเวณด้านหน้าของซุ้มล้อ นอกจากนี้ ช่วงหน้าของรถสปอร์ต 911 ในรหัสตัวถังเจเนอเรชัน 992 ถูกปรับให้กว้างขึ้นอย่างชัดเจนจากโป่งล้อที่ขยายใหญ่ขึ้น รถแข่งปอร์เช่ 911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup) มีความกว้างของช่วงล้อหน้าถึง 1,920 มิลลิเมตร เปิดโอกาสให้สามารถติดตั้งล้อคู่หน้าขนาด 12 นิ้ว และล้อคู่หลังขนาด 13 นิ้ว ได้อย่างลงตัว โดยสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติสำหรับรถแข่งในรุ่น GT ส่งผลดีต่อการขับขี่ และประสิทธิภาพของตัวรถ

ในขณะเดียวกัน รถแข่งเจเนอเรชันที่  7 คันนี้ ได้รับการออกแบบให้มีระบบอากาศพลศาสตร์ที่ให้แรงกดมากยิ่งขึ้น ต้องยกประโยชน์ให้กับการผสมผสานการทำงานระหว่างสปอยเลอร์หลัง ร่วมกับปีกหลังและชิ้นส่วนตัวถังด้านหน้าที่ มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนผ่านการปรับแต่งเป็นพิเศษเพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับสปอยเลอร์หน้า รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้ตามสถานการณ์ ปีกหลังทรงสูงที่สามารถปรับตั้งการทำงาน ได้ถึงสิบเอ็ดระดับจากจุดยึดแบบ ‘swan neck’ มั่นใจได้ว่าการไหลของกระแสอากาศใต้ปีกจะไม่ถูกรบกวนอย่างแน่นอน ทั้งหมดนี้คือประสิทธิภาพด้านอากาศพลศาตร์ที่ได้รับการปรับปรุง เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพในการควบคุมโดยเฉพาะการ เข้าโค้งด้วยความเร็วสูงโครงสร้างตัวถังของรถแข่งเจเนอรชัน 991.2 รุ่นเก่า ประกอบด้วยเหล็กกล้า 70 เปอร์เซ็นต์ และอะลูมิเนียม 30 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนดังกล่าวถูกสลับที่กันในรถแข่งคันใหม่ แท้จริงแล้วตัวรถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 35 กิโลกรัม โดยมีน้ำหนักไม่รวมของเหลวที่ 1,260 กิโลกรัม ส่วนที่เพิ่มขึ้นมีที่มาจากจุดยึดสตรัท เพื่อเสริมความแข็งแกร่งภายในพื้นที่นิรภัยหลังคาแบบถอดได้ในกรณีเกิดอุบัติเหตุตามมาตรฐานล่าสุดของ FIA หน้าต่างทุกบานที่ได้รับการติดตั้งในรถแข่ง GT3 Cup ผลิตจากวัสดุ polycarbonate น้ำหนักเบา มีคุณสมบัติทนทาน ต่อรอยขีดข่วน และแรงกระแทก ด้วยการเคลือบแข็ง ประตูรถ ฝากระโปรงท้ายและปีกหลัง ผลิตจากวัสดุ คาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP) ในส่วนของฝากระโปรงหน้า รวมทั้งช่องระบายอากาศ และช่องรับอากาศเข้าห้องโดยสาร ยังคงใช้วัสดุพื้นฐาน ที่แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพในการออกแบบตัวรถเดิม เช่นเดียวกับในปอร์เช่ 911 คาร์เรร่า (Porsche 911 Carrera) ชิ้นส่วนดังกล่าวผลิตจากอะลูมิเนียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า หากต้องซ่อมแซมในกรณีที่เกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุ

นักออกแบบพิจารณาถึงหลักสรีรศาสตร์ในการวางตำแหน่งอุปกรณ์ต่างๆ โดยละเอียด เพื่อรองรับผู้ขับขี่เป็นพิเศษ นอกจากการปรับเลื่อนเข้าออกในแนวราบ เบาะ racing seat ใหม่ยังสามารถปรับความสูงได้ถึง 2 ระดับ  เมื่อผสานกับคอพวงมาลัยที่ปรับระดับได้เช่นเดียวกัน ทำให้มั่นใจได้ว่าตำแหน่งที่นั่งจะเหมาะสมกับผู้ขับขี่ทุกคน แผ่นรองรับร่างกายที่มีหลายขนาดความหนา ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ขับขี่ได้อย่างไร้ข้อจำกัด ออกแบบหลังคารถใหม่ พวงมาลัย carbon-fibre multifunction สำหรับการแข่งขัน ยกมาจากตัวแข่งรุ่นใหญ่ 911จีที3 อาร์ (911 GT3 R) ด้วยข้อมูลที่ได้จากนักแข่งจึงได้ทำการจัดเรียงตำแหน่งชุดสวิตซ์ควบคุมเรืองแสงใหม่ ปุ่ม Rubber Switch Panel (RSP) ขนาดใหญ่จำนวน 10 ปุ่มในแนวด้านขวา ที่ชวนให้นึกถึงแผงควบคุมในรถแข่งปอร์เช่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) สะดวกต่อการใช้งาน แม้ในระหว่างการแข่งขันออกเเบบเพื่อควบคุมฟังก์ชันหลัก อาทิ ระบบแสงสว่าง ระบบระบายอากาศ หรือการปรับตั้งค่าตัวรถเมื่อเปลี่ยนจากยางแห้งเป็นยางเปียก หนึ่งในตัวอย่างที่แสดงให้เห็น ถึงรายละเอียดอันชาญฉลาดคือ การปรับตั้ง brake balance ในรถแข่งรุ่นใหม่ ผู้ขับขี่สามารถตั้งค่าได้อย่างง่ายดาย ผ่านสวิตซ์โรตารี่ด้านขวาสุดของปุ่ม RSP ทั้งนี้ทิศทางการเลื่อนสวิตซ์จะขึ้นอยู่กับความต้องการปรับเพิ่มหรือลดแรง ดันเบรกของล้อคู่หน้า

นักออกแบบยังได้เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์บนคอนโซลกลางใหม่แบบยกชุด หน้าจอสีขนาด 10.3 นิ้ว แสดงข้อมูลหลักที่ผู้ขับขี่ จำเป็นต้องได้รับขณะอยู่ในสนาม รอบเครื่องยนต์อุณหภูมิน้ำและน้ำมันหล่อลื่นสัญญาณเตือนฉุกเฉินหรือค่าความผิด ปกติต่างๆ ถูกตั้งค่าให้ปรากฎขึ้นทันทีเมื่ิอจำเป็น อาทิ ข้อความเตือน “wet” เมื่อขับขี่ท่ามกลางสายฝน การแสดงข้อมูลทุกครั้งได้รับการออกแบบให้ถูกต้องตรงกันทั้งจากหน้าจอบนรถ และหน้าจอคอมพิวเตอร์ควบคุมการ แข่งขัน เพื่อให้มั่นใจว่านักแข่งและวิศวกรจะเห็นข้อมูลที่เหมือนกันทุกประการช่วยให้วิเคราะห์ผลการแข่งแต่ละสนาม ได้อย่างตรงประเด็น

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับการพัฒนาให้เป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากขึ้นโดยสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดต่างๆ ได้อย่าง ง่ายดาย รวมทั้งแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องทันท่วงทีมากกว่า 700 แนวทางการวิเคราะห์ที่สามารถเลือกใช้งานได้ software พิเศษเฉพาะทาง ช่วยในการสรุปข้อมูลต่างๆ อย่างชัดเจน และครอบคลุมทุกระบบ ฟังก์ชันการทำงานเสริม อาทิ ระบบ ABS หรือระบบ traction control บรรจุพร้อมใช้งาน  สามารถสั่งการได้ผ่าน digital code ในการแข่งขัน Porsche Mobil 1 Supercup และรายการ Carrera Cups ระดับสากลแทบทั้งหมดระบบช่วยเหลือดังกล่าวจะถูกปิดการทำงานเอาไว้ สำหรับการลงสนามเพื่อค้นหาผู้ชนะในซีรีส์นี้ ที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวของนักแข่งเพื่อชิงชัยเท่านั้น

รายละเอียดอื่นๆ ที่เน้นย้ำให้เห็นถึงความประณีตในการสร้างสรรค์รถแข่งปอร์เช่ 911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup) สามารถสังเกตได้จากการจัดเรียงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายรอบตัวรถ กล่องควบคุม Motorsport control units และระบบบันทึกข้อมูลการขับขี่ data loggers ย้ายตำแหน่งจากที่วางเท้าฝั่งผู้โดยสาร ไปยังมุมขวาของห้องเก็บสัมภาระ ท้ายรถ ผลที่ได้คือไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางการติดตั้งเบาะนั่งฝั่งผู้โดยสาร เมื่อมีความจำเป็นต้องขับขี่ชั่วคราวในลักษณะ ‘racingtaxidrives’

ระบบช่วงล่างของรถแข่ง 911 Cup คือ ศูนย์รวมเทคโนโลยีจากสนามความเร็วที่ยอดเยี่ยมที่สุด ทั้งนี้ช่วงล่างด้านหลังแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จากรถสปอร์ตในสายการผลิตปกติ ส่วนช่วงล่างด้านหน้าเป็นแบบปีกนกคู่ double wishbones และลูกปืนแบบ Uniball bearings เช่นเดียวกับ 911 RSR รถแข่งตัวแรงที่สุดของปอร์เช่ในปัจจุบัน ด้วยสิ่งนี้ โช๊คอัพไม่มีความจำเป็นต้องรับแรงในแนวราบ มีเพียงแรงในแนวแกนเท่านั้นที่กระทำ ผลลัพธ์คือความเฉียบคมขณะบังคับเลี้ยว และให้ความรู้สึกที่มั่นคงยิ่งขึ้นเมื่อพิจารณาถึงการทำงานของช่วงล่างด้านหน้า นอกจากนี้ตัวโช๊คอัพเองยังได้รับการติดตั้งเทคโนโลยีวาล์วระดับสุดยอดซึ่งถ่ายทอดมาจาก 919 Hybrid และ 911 RSR ผสานกับพวงมาลัยเพาเวอร์ electro-mechanical ครั้งแรกในรถแข่ง 911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup) หมายความว่าจะไม่จำเป็นต้องใช้ปั้มเพาเวอร์ และท่อทางน้ำมันไฮดรอลิคทั้งหลายอีกต่อไป

ในส่วนของขุมพลัง รถแข่งปอร์เช่ 911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup) ยังคงยึดมั่นกับเครื่องยนต์เบนซิน 6 สูบนอน ไร้ระบบอัดอากาศในเวอร์ชันรถเเข่งพันธุ์แท้ ด้วยขนาดความจุ 4  ลิตร ระบายความร้อนด้วยน้ำ พละกำลังสูงสุด 510 แรงม้า (375 กิโลวัตต์) ให้รอบการทำงานที่สูงเป็นพิเศษ พร้อมระบบน้ำมันหล่อลื่นแบบ dry-sump รีดสมรรถนะเครื่องยนต์ถึงกว่า 8,400 รอบต่อนาที เพิ่มขึ้นจากรุ่นก่อนหน้าที่ทำได้ 7,500 รอบต่อนาที ตัดการทำงาน redlines ที่ 8,750 รอบต่อนาที ขณะที่ให้แรงบิดมหาศาล 470 นิวตันเมตร ที่ 6,150 รอบต่อนาที ระบบลิ้นปีกผีเสื้อแบบเดี่ยว พร้อมท่อร่วมไอดีติดตั้ง resonance flaps คู่ มั่นใจได้ในอัตราการตอบสนองที่ต่อเนื่องไม่มีสะดุด เมื่อทำงานร่วมกับระบบระบายไอเสีย พร้อมแคททาไลติด คอนเวอร์เตอร์สำหรับการแข่งขัน ก่อกำเนิดเสียงคำรามจากเครื่องยนต์อันดุดันน่าเกรงขาม สามารถเลือกติดตั้งระบบระบายไอเสียได้ถึง 3 รูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับรายการแข่งขันข้อกำหนดและสนามแต่ละแห่ง ติดตั้งระบบควบคุมเครื่องยนต์ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ Bosch MS 6.6

เช่นเดียวกันกับรถแข่งรุ่นก่อนหน้าเครื่องยนต์ 6 สูบบล็อกนี้ ต้องการการบำรุงรักษา เพียงการตรวจสอบหลัง จากการลงสนามเป็นระยะเวลา 100 ชั่วโมง ส่งกำลังผ่านระบบเกียร์ sequential  dog-type 6 จังหวะ ที่มีน้ำหนัก 72 กิโลกรัม พร้อมล้อช่วยแรงแบบ single-mass flywheel และคลัทช์ sintered metal สามแผ่นสำหรับการแข่งขัน เปลี่ยนเกียร์ด้วย paddle shift บนพวงมาลัย ระบบเกียร์ดังกล่าวต้องการเพียง “การตรวจสอบเบื้องต้น หรือ minor inspection” หลังจากการลงแข่งขันเป็นระยะเวลา 60 ชั่วโมงเท่านั้น หรือโดยประมาณ 2 ปีในการแข่งขันรายการ Porsche Mobil 1 Supercup จึงจำเป็นต้องโอเวอร์ฮอร์นหลังจาก 120 ชั่วโมงของการลงสนาม กลไกการเปลี่ยนจังหวะเกียร์ shift barrel actuator ควบคุมการทำงานโดย electric servo-motor เปลี่ยนจากการใช้ชุดนิวแมติกในรุ่นเดิม ซึ่งมีข้อได้เปรียบคือการเปลี่ยนอัตราทดที่รวดเร็วขึ้น เพิ่มเติมฟังก์ชันการวิเคราะห์ปัญหาในขณะใช้งาน และเสี่ยงต่อความเสียหายน้อยลง ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนเกียร์ผิดตำแหน่ง

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดอื่นๆ อีกมากสำหรับการปรับแต่งพิเศษเพื่อยกระดับสมรรถนะของรถแข่งปอร์เช่ 911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup)

  • รถแข่ง 911 Cup ทุกคันจาก Porsche Motorsport จะได้รับการส่งมอบพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ ตกแต่งสมบูรณ์แบบจากโรงงาน อาทิ เครื่องมือพิเศษทั้งหมด และสเปเซอร์ในกรณีปรับตั้งช่วงล่าง ให้เข้ากับการขับขี่แต่ละสนาม ดังนั้น รถแข่ง 911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup) จึงพร้อมลงสนามแข่งขันได้ทันที โดยที่ทีมแข่งอิสระไม่จำเป็นต้องสั่งซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม
  • ในรถแข่งเจเนอเรชันล่าสุด หม้อน้ำระบายความร้อนยังคงได้รับการติดตั้งบริเวณหลังชิ้นส่วนตัวถังหน้ารถ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงในการเสียหายของหม้อน้ำจากการขับขี่บนความเร็วสูงและเปิดโอกาสให้สามารถ ติดตั้งชุดสตรัทได้โดยไม่ก่อให้เกิดการกระทบกระแทกกับชิ้นส่วนอื่นใด
  • ชุดคาลิเปอร์เบรกแบบพิเศษ สามาถเปลี่ยนผ้าเบรกได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
  • เพลาขับหลังออกเเบบเพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ ให้ความทนทานสูง
  • ห่วงผ้า Textile loops ได้รับการติดตั้งสำหรับการลากจูงตัวรถ แทนจุดยึดแบบตะขอเหล็กในรุ่นก่อนหน้า
  • ระบบดับเพลิงฉุกเฉิน central nozzle ใหม่ ปรับปรุงการกระจายตัวของสารดับเพลิงให้ครอบคลุมพื้นที่ภายในห้องโดยสาร
  • เปลี่ยนตำแหน่งของ release unit ช่วยให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยสามารถตรวจสอบความถูกต้องในการทำงานของระบบ ดับเพลิงฉุกเฉินจากภายนอกรถได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ปรับปรุงมือเปิดประตูฉุกเฉิน safety quick releases จากด้านใน ให้เป็นไปตามหลักสรีรศาสตร์ เมื่อต้องการออกจาก ตัวรถในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
    • ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านระบบ onboard โดยปราศจากฟิวส์แบบเดิม ลดปริมาณวัสดุที่ใช้ในการเดินสายไฟ และลดน้ำหนักรวมให้ต่ำลง การออกแบบใหม่ ช่วยให้การซ่อมบำรุงทำได้ง่ายยิ่งขึ้นจากตำแหน่งศูนย์รวม
  • ในกรณีที่เครื่องยนต์ขัดข้องขณะออกสตาร์ท ไฟฉุกเฉินจะติดขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อเตือนให้นักแข่งคนอื่นระมัดระวัง การเฉี่ยวชนที่อาจเกิดขึ้น

ข้อมูลทางเทคนิคของรถแข่งปอร์เช่ 911 จีที3 คัพ (911 GT3 Cup 992) รุ่นปี 2021
แนวคิดหลักในการพัฒนา

  • รถแข่งแบบที่นั่งเดี่ยว

น้ำหนัก/มิติตัวถัง

  • น้ำหนักรวม: 1,260 กิโลกรัม
  • ความยาว: 4,585 มิลลิเมตร
  • ความกว้าง: 1,920 มิลลิเมตร (เพลาล้อหน้า) / 1,902 มิลลิเมตร (เพลาล้อหลัง)
  • ฐานล้อ: 2,459 มิลลิเมตร

เครื่องยนต์

  • แบบ 6 สูบนอน ระบายความร้อนด้วยน้ำ ขนาดความจุ 3,996 ซีซี ระยะชัก 81.5 มิลลิเมตร ความโตกระบอกสูบ 102 มิลลิเมตร กำลังสูงสุด 510 แรงม้า (375 กิโลวัตต์) ที่ 8,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 470 นิวตันเมตร ที่ 6,150 รอบต่อนาที เทคโนโลยีสี่วาล์วต่อสูบ ระบบลิ้นปีกผีเสื้อแบบเดี่ยว ท่อร่วมไอดีติดตั้ง resonance flaps คู่ ระบบควบคุมเครื่องยนต์ Bosch MS 6.6 ระบบหล่อลื่นเครื่องยนต์แบบ dry-sump ล้อช่วยแรงแบบ single-mass flywheel ระบบระบายไอเสียพร้อมแคททาไลติค คอนเวอเตอร์ ผ่านมาตรฐาน DMSB certified รองรับน้ำมันเชื้อเพลิง ไร้สารตะกั่ว Superplus unleaded จนถึง E20 (ค่าออกเทนต่ำสุด 98)

ระบบเกียร์

  • ระบบส่งกำลัง 6 จังหวะแบบ sequential dogtype แป้นเปลี่ยนเกียร์ paddles shift บนพวงมาลัย พร้อม electronic shift barrel actuator เฟืองท้ายแบบ limited slip differential ชุดคลัทช์ sintered metal สามแผ่นสำหรับการแข่งขัน

โครงสร้างตัวถัง

  • แชสซีสน้ำหนักเบาด้วยการออกแบบผสมผสานระหว่างอะลูมิเนียมและเหล็กกล้า จุดรองรับสำหรับอุปกรณ์ยกรถ หลังคาแบบถอดออกได้เพื่อเข้าถึงตัวนักแข่งในกรณีฉุกเฉิน โครงสร้างนิรภัยเชื่อมติดกับตัวถังผ่านการรับรองเพื่อ ใช้ร่วมกับ co-driver สำหรับการแข่งขันในสนาม เบาะนั่งสำหรับการแข่งขันตามมาตรฐาน FIA 8862/2009 ยึดติดกับแชสซีส ปรับเลื่อนตามแนวระนาบปรับความสูงและมุมเอียงได้ 2 ตำแหน่ง เข็มขัดนิรภัยแบบ 6 ตำแหน่งพร้อมใช้งานร่วมกับระบบ HANS® คอพวงมาลัยปรับระดับได้ พร้อมเซนเซอร์ตำแหน่งพวงมาลัย ครอบกันชนหน้าพร้อมระบบ quickrelease fasteners  ช่องระบายอากาศ และช่องรับอากาศเข้าห้องโดยสาร กันชนหน้าขนาดใหญ่พร้อมลิ้นสปอยเลอร์ โป่งซุ้มล้อขนาดใหญ่ ตัวถังด้านหลังติดตั้งระบบไฟเตือน rain light ตามข้อกำหนดของ FIA ประตูรถ ครอบกันชนท้าย และปีกหลังผลิตจากวัสดุ คาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP) ปีกหลังพร้อมจุดยึด ‘swan neck’ ปรับระดับได้ 11 ตำแหน่ง กระจกแบบ polycarbonate เคลือบแข็ง ระบบแม่แรงลม air-jack 3 จุด วาล์วควบคุมแรงดันติดตั้งบนตัวถังทั้ง 2 ฝั่ง ถังน้ำมันนิรภัยแบบ FT3 ความจุ 110 ลิตร ติดตั้งบริเวณด้านหน้ารถ
  • แผงอุปกรณ์ภายในห้องโดยสารผลิตจากวัสดุ คาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP) พวงมาลัยสปอร์ต multifunctional ผลิตจากวัสดุ คาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP) พร้อมข้อต่อแบบ quick-release coupling แป้นเปลี่ยนเกียร์ shift paddles และปุ่มควบคุมเรืองแสง หน้าจอดิจิทัลระบบสัมผัส ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ พร้อม multi-colour backlight; ตาข่ายนิรภัย (บริเวณกลางรถ และฝั่งผู้ขับขี่) ตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยล่าสุดของ FIA ระบบระบายอากาศเบาะนั่งแบบพร้อมใช้งาน ระบบดับเพลิง พร้อม electronic release unit

ระบบช่วงล่าง

  • ปีกนกและจุดยึดอลูมิเนียมฟอร์จ เพิ่มความแข็งแกร่ง ลูกปืนล้อ spherical bearings สำหรับงานหนัก พร้อมยางกันฝุ่น ดุมล้อพร้อมระบบ centre-lock wheel nut โช้คอัพแบบสปอร์ตสำหรับการแข่งขันเหล็กกันโคลง ปรับระดับได้แบบ double-blade-type ระบบตรวจสอบแรงดันลมยาง tyre pressure monitoring

ช่างล่างด้านหน้า

  • ปีกนกคู่ Double wishbone ปรับระดับความสูง มุมโท และมุมแคมเบอร์ได้
  • พวงมาลัยเพาเวอร์แบบ Electro-mechanical พร้อมฟังก์ชันปรับน้ำหนัก

ช่วงล่างด้านหลัง

  • ปีกนกคู่ Double wishbone ปรับระดับความสูง มุมโท และมุมแคมเบอร์ได้
  • เพลาขับเพื่อการแข่งขัน ให้ความทนทานสูง

ระบบเบรก

  • ระบบเบรกอิสระ 2 วงจรหน้าและหลัง เซนเซอร์แรงดันเบรกผู้ขับขี่สามารถปรับตั้งการกระจายแรงเบรก ได้ด้วยระบบ brake balance ผ้าเบรกสำหรับการแข่งขันระบบระบายความร้อนเบรก แป้นเบรกวางตำแหน่ง ตามหลักสรีรศาสตร์
  • เบรกคู่หน้า คาลิเปอร์เบรกอลูมิเนียม โมโนบลอก หกลูกสูบสำหรับการแข่งขัน พร้อมสปริงลูกสูบแบบ anti knockback จานเบรกเหล็กกล้าพร้อมครีบระบายความร้อนขนาด 380 x 32 มิลลิเมตร ยึดติดกับโครง อะลูมิเนียม แม่ปั๊มเบรกอะลูมิเนียม
  • เบรกคู่หลัง คาลิเปอร์เบรกอลูมิเนียม โมโนบลอก 4 ลูกสูบสำหรับการแข่งขัน พร้อมสปริงลูกสูบแบบ anti knock-back จานเบรกเหล็กกล้าพร้อมครีบระบายความร้อนขนาด 380 x 32 มิลลิเมตร ยึดติดกับโครงอะลูมิเนียม แม่ปั๊มเบรกอะลูมิเนียม 

ล้อ / ยาง

  • คู่หน้า: ล้ออัลลอยชิ้นเดียว พร้อมระบบ centre-lock ผลิตและออกแบบตามมาตรฐานของปอร์เช่ ขนาด 12J x 18 ยางรถยนต์ขนาด 30/65-18
  • คู่หลัง: ล้ออัลลอยชิ้นเดียว พร้อมระบบ centre-lock ผลิตและออกแบบตามมาตรฐานของปอร์เช่ ขนาด 13J x 18 ยางรถยนต์ขนาด 31/71-18

ระบบไฟฟ้า

  • บันทึกข้อมูลด้วย Porsche Logger Unit; Porsche Power Box หน้าจอสีแสดงผลขนาด 10.3 นิ้ว Porsche colour display แบตเตอรี่นิรภัยน้ำหนักเบา LiFePO4 ขนาด 12V, 60 Ah ติดตั้งบริเวณพื้นตัวถังภายในฝั่งผู้โดยสาร อัลเทอร์เนเตอร์ขนาด 175A หน้าจอสัมผัสพร้อม multi-colour backlight ก้านปัดน้ำฝนกระจกหน้าแบบแขนเดี่ยว พร้อมระบบควบคุมแบบ direct drive (การทำงานปัดเป็นจังหวะและปัดต่อเนื่อง) สวิตซ์เสริม 3 ตำแหน่งบนคอนโซลกลาง สำหรับรองรับอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมระบบเชื่อมต่อสำรองข้อมูลการขับขี่ data connection (data logger, video system)
  • ไฟหน้า LED พร้อมไฟส่องสว่างเวลากลางวัน daytime running lights ไฟท้าย และระบบไฟเตือน rain light ที่มาพร้อมเทคโนโลยี LED