เราจะเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต และการขับขี่ในปีใหม่นี้

ยูตากะ ซานาดะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส นิสสัน มอเตอร์ ภูมิภาคเอเชีย และโอเชียเนีย และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทนิสสัน มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด

ในช่วงปีใหม่หลายๆ คนพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตทั้งเรื่องงาน และส่วนตัวให้ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา รวมการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สังคมดีขึ้นกว่าเดิม ส่วนตัวผมเองในฐานะรองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส นิสสัน มอเตอร์ ภูมิภาคเอเชีย และโอเชีเนีย ทำให้ความสนใจพิเศษของผมมุ่งเน้นไปในเรื่องการส่งเสริมความปลอดภัย นวัตกรรมใหม่ และการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยายนต์สู่ยุคพลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน ผมจึงมีความปรารถนาในปีใหม่นี้ที่จะให้ผู้ที่สนใจซื้อรถยนต์หันมาเลือกรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

อาจจะฟังดูเป็นเรื่องของตัวแทนผู้ผลิตยานยนต์ แต่เมื่อมองถึงอนาคตข้างหน้าวิถีชีวิตของคนเอเชียในสังคมเมืองใหญ่ การก้าวสู่ยุครถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเป็นเรื่องที่สร้างผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์อย่างมากมาย

รถยนต์พลังงานไฟฟ้า: แนวทางสำหรับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของเมืองในเอเชีย

การพัฒนาของประเทศในเอเชียเป็นไปอย่างก้าวกระโดด มากกว่าส่วนอื่นๆของโลก หลายๆ เมืองในภูมิภาคนี้ยังคงมีการเติบโตอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดของภูมิภาคนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเป็นเมือง ในปี 2561 ผู้ที่อยู่อาศัยในเมือง ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง และสาธารณูปโภค รวมถึงการจราจร และปัญหาสภาพอากาศ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และโรคภัยต่างๆ มากมาย มีหลักฐานบ่งชี้ว่าคนเดินเท้าที่สัญจรร่วมบนท้องถนนจะได้รับมลพิษที่มีอนุภาคความละเอียดสูงกว่า ผู้คนในยุโรปและอเมริกาสูงถึง 1.6 เท่า โดยผลการวิจัยยังพบว่าประมาณร้อยละ 88 ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของผู้ที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางในเอเชีย มาจากมลพิษทางอากาศตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO)

เมื่อมีรถยนต์บนถนนมากขึ้น มลพิษทางเสียงก็เป็นปัญหาที่เพิ่มขึ้นของคนเมือง องค์การอนามัยโลกระบุว่าการได้รับระดับสียงโดยเฉลี่ยในระยะยาว ที่มีระดับสูงกว่า 53 เดซิเบล (dB) คล้ายกับเสียงจากถนนที่เต้มไปด้วยการจราจรสามารถทำให้เกิดภาวะ ความดันโลหิตสูงโรค หลอดเลือดหัวใจตีบ และหัวใจวาย – ยกตัวอย่างเช่นในกรุงเทพฯ ที่มีระดับเสียงที่บันทึกไว้โดยปกติทุกวันถึง 73 เดซิเบล (dB).

รถยนต์ไฟฟ้า ถูกนำเสนอเพื่อเป็นทางออกในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ในเอเชีย และโอเชียเนีย ข้อมูลจาก Wood Mackenzie บริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงานทั่วโลก กล่าวว่า “รถยนต์ไฟฟ้าขนาดกลางทั่วไปสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ได้ถึง 67% เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน ตามกระบวนการวัดประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงโดยรวม หรือ well-to-wheel (ปัจจัยที่เริ่มตั้งแต่การผลิตไฟฟ้า และการขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้า)”

นิสสัน ลีฟ ใหม่ กำลังวางตลาดใน 7 ประเทศในเอเชียและโอเชียเนีย สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ เพื่อความยั่งยืนที่มากขึ้นในอนาคต และ การใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้สของเอเซีย

การก้าวไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตขึ้นอย่างหลากหลาย

นอกจากงานของนิสสันในด้านนี้แล้ว ในปีที่ผ่านมายังเป็นบทพิสูจน์อีกปีหนึ่ง ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความท้าทายในอนาคตของเอเชียได้แสดงให้เห็นถึงการสนับสนุนด้านพลังงานที่ยั่งยืน ทุกรัฐบาลทั่วเอเชียให้การสนับสนุนโดยออกนโยบายสาธารณะสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เช่นนโยบายส่งเสริมการผลิตรถโดยสารประจำทางที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในพม่าและการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเต็มรูปแบบสำหรับผู้ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในเกาหลี

นอกจากนี้ ชุมชน และภาคเอกชนอื่นๆ ในภูมิภาค ยังแสดงบทบาทความเป็นผู้นำในการอนุรักษ์พลังงานเพิ่มเติม ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยโครงการ “แค่ใจก็เพียงพอ หรือ Honor the King’s Legacy” ซึ่งเป็นการสร้างชุมชนให้มีทักษะ ในการรีไซเคิลขยะให้เป็นศิลปะเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืนขึ้น หรือ บริษัทจัดส่งพัสดุ เช่น ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ (DHL eCommerce) เริ่มทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าในมาเลเซียและเวียดนามเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในงานด้านโลจิสติกส์ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2593 หรือ ค.ศ. 2050

ในขณะที่กระแสการเปลี่ยนแปลงจากภาคประชาชน และเอกชน เห็นได้อย่างชัด เช่น นโยบายส่งเริมการลงทุนโดยภาครัฐ ภาคเอกชนเริ่มลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมการผลิตสมัยใหม่ เช่น นิสสันที่ให้ความสำคัญในการลงทุนสำหรับรถยนต์พลังานไฟฟ้าซึ่งจะช่วยผลักดันในอุตสหกรรมยานยนต์ไปสู่ยุครถยนต์พลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

2562 ปีแห่งความคิดที่ยั่งยืน

ในปีใหม่นี้ถือเป็นโอกาสอันดีในการปรับเปลี่ยนความคิดในการดำเนินชีวิตเพื่อความยั่งยืน และอนาคตที่ดีกว่าเดิม นักวิจัยหลายคนให้ความเห็นว่าพฤติกรรมจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีการปฎิบัติอย่างต่อเนื่องโดยไม่พะวงอยู่แต่กับความคิด เช่น ฝึกฝนตนเองให้มองซ้ายมองขวาก่อนข้ามถนน หรือคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อขึ้นรถจนเป็นนิสัย

เพียงเปลี่ยนแนวคิดใหม่ในปีนี้ ก็เป็นการก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนแล้ว  และข่าวดีกว่านี้ก็คือ สังคมก็ได้มอบทางเลือกใหม่เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการลดใช้พลังงาน และเพิ่มการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การส่งเสริมให้คนให้มาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า การใช้แอปพลิเคชั่นเรียกรถสาธารณะ การได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากรถยนต์พลังงานไฟฟ้าต่างๆ สิ่งเหล่านี้ร่วมเป็นส่วนช่วยให้เราก้าวเข้าสู่วิถีชีวิตที่ยั่งยืน

ยังมีงานวิจัยที่ค้นพบว่า คนเราใช้เวลาเพียง 21 – 66 วัน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหากเราต้องการเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อในสังคมที่เราอยู่ปราศจากมลพิษ เราจะใช้เวลาเพียงไม่ถึง 2 เดือนเท่านั้น เช่น ฝึกให้ตัวเองปิดไฟทุกครั้งเมื่อออกจากห้อง เป็นต้น

ในเอเชีย จำเป็นมากที่เราจะต้องนำแนวคิดเรื่องความยั่งยืนมาใช้ ผมอยากขอให้เราทุกคนลองพิจารณาว่า เราต้องการสังคมแบบไหนสำหรับอนาคตของพวกเราและสำหรับคนรุ่นหลัง ที่ที่เราสามารถเพลิดเพลินกับอากาศบริสุทธิ์ และวิถีชีวิตที่สงบและมีความผ่อนคลายในเขตเมือง ณ ตอนนี้เป็นเวลาในการปรับทางเลือกในกิจกรรมแต่ละวันของเรา รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างกรอบความคิดใหม่ๆ ที่ที่การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะเป็นทางที่ได้รับการยอมรับและได้รับการชื่นชอบสำหรับการเดินทางต่างๆ