รอยัล เอนฟิลด์ เตรียมจัดการเดินทางขี่รถจักรยานยนต์ผจญภัยเส้นทางสู่ขั้วโลกใต้สุดเอ็กซ์ตรีมครั้งแรก
90 องศาใต้ – ผจญภัยเส้นทางสู่ขั้วโลก การเฉลิมฉลองครบรอบ 120 ปีของการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่แท้จริงด้วยการเดินทางที่สุดท้าทาย
- 90 องศาใต้ คือทริปขี่รถจักรยานยนต์ผจญภัยซึ่งจะพยายามไปให้ถึงขั้วโลกใต้ครั้งแรกของรอยัล เอนฟิลด์ ที่จัดขึ้นเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองครบรอบ 120 ปีของแบรนด์
- ผู้ขับขี่ 2 คนของรอยัล เอนฟิลด์จะขี่รอยัล เอนฟิลด์ Himalayan ข้ามทวีปแอนตาร์กติกาจากหิ้งน้ำแข็งรอสส์ (Ross Ice Shelf) ไปยังขั้วโลกใต้ คิดเป็นเวลา และระยะทางทั้งหมด 39 วัน 770 กิโลเมตร
- ทริปจะเริ่มขึ้นในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
รอยัล เอนฟิลด์ เป็นแบรนด์รถจักรยานยนต์ที่ดำเนินการผลิตอย่างต่อเนื่องมานานที่สุดในโลกตั้งแต่ปีค.ศ. 1901 นับถึงวันนี้ก็เป็นเวลา 120 ปีแล้วที่รอยัล เอนฟิลด์ยังคงรักษามรดกของการสร้างรถจักรยานยนต์ดีไซน์คลาสสิกที่เรียบง่าย มีเสน่ห์ ขับขี่เพลิดเพลิน และเข้าถึงได้เอาไว้ รอยัล เอนฟิลด์ผ่านบททดสอบความทนทานของทั้งคน และเครื่องจักรในแต่ละช่วงเวลามาแล้วมากมาย ทั้งยังเข้ากับยุคสมัยต่าง ๆ และเป็นที่ต้องการของนักขับขี่รถจักรยานยนต์ทุกวัยมาตลอด
เริ่มต้นจากโรงงานในเมืองเรดดิทช์ (Redditch) ประเทศอินเดีย รอยัล เอนฟิลด์ใช้เวลากว่าหนึ่งศตวรรษในการสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับการขับขี่มอเตอร์ไซค์ต่าง ๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นตำนาน รวมถึงประสบการณ์ดี ๆ ที่น่าจดจำ และเพื่อเป็นการจุดประกาย พร้อมสนับสนุนให้ผู้คนพยายามหาโอกาสออกไปสำรวจโลกอยู่เรื่อย ๆ รอยัล เอนฟิลด์จึงจัดทริปขี่รถจักรยานยนต์ขึ้นในหลายที่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นการขี่บนเส้นทางสำหรับรถที่สูงที่สุดในโลก การขี่ไปถึงเบสแคมป์ (Base Camp) ของเขาเอเวอเรสต์ในทิเบต การขี่ผ่านเส้นทางภูเขาที่เข้าถึงได้ยากที่สุดที่ดอรัต เบก โอลดี (Daulat Beg Oldi), เทือกเขาคาราโครัม (Karakoram) และการขี่ข้ามทะเลทรายที่กูตจ์ (Kutch) ภายใต้ท้องฟ้ายามค่ำคืนอันงดงาม
ในการก้าวต่อไปข้างหน้า พร้อมรำลึกถึง 120 ปีของการสร้างวัฒนธรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่แท้จริง รอยัล เอนฟิลด์จะเฉลิมฉลองปีค.ศ. 2021 ด้วยการพยายามผลักดันขีดจำกัดของความเป็นไปได้ต่าง ๆ ในการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างทะเยอทะยาน โดยจะจัดทริปขี่รอยัล เอนฟิลด์ Himalayan ซึ่งจะพยายามไปให้ถึงขั้วโลกใต้จากหิ้งน้ำแข็งรอสส์ ผ่านธารน้ำแข็งเลเวอเรตต์ (Leverett Glacier) 90 องศาใต้ – ผจญภัยเส้นทางสู่ขั้วโลก (90° SOUTH – Quest for the Pole) คือกิจกรรมที่ถูกคิดขึ้นเพื่อให้เป็นการเฉลิมฉลองความยึดมั่นต่อการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่แท้จริงของแบรนด์ รวมถึงผู้ขับขี่ และนักสำรวจที่กล้าหาญอดทนจำนวนนับไม่ถ้วนที่สร้างประวัติศาสตร์ด้วยทริปขี่รถจักรยานยนต์ของพวกเขา
คุณสิทธัตถะ ลาล, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, ไอเชอร์ มอเตอร์ส กล่าวถึงการครบครบ 120 ปีของรอยัล เอนฟิลด์ และความพยายามในการเดินทางครั้งนี้ว่า “120 ปีนั้นถือเป็นมรดกของรอยัล เอนฟิลด์ที่มีระยะเวลานานมาก พวกเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำให้ตลอด 120 ปีที่ผ่านมาทั้งมีคุณค่าและความหมาย นอกจากนี้พวกเรายังสร้าง พร้อมส่งเสริมวัฒนธรรมการขับขี่ และการออกไปสำรวจโลกที่เติบโตอยู่เรื่อย ๆ 90 องศาใต้ คือส่วนสำคัญของ DNA ของเรา รวมถึงเป็นอีกหนึ่งการเดินทางในโปรแกรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ครั้งยิ่งใหญ่สุดพิเศษของเรา ในอดีตกิจกรรมขับขี่อย่าง หิมาลายัน โอดิสซีย์ (Himalayan Odyssey) ได้ปูทางให้การขับขี่รถจักรยานยนต์ผจญภัยในเทือกเขาหิมาลัยต่าง ๆ การเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ไปยังขั้วโลกใต้เช่นนี้ ซึ่งเป็นการพยายามเดินทาง 770 กิโลเมตรไปยังขั้วโลกใต้ด้วยรถจักรยานยนต์ครั้งแรก รวมถึงเป็นการทดสอบความมานะอดทนของทั้งคนและเครื่องจักร จะเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนออกผจญภัยสำรวจอีกครั้ง”
90 องศาใต้ถูกจัดขึ้นเพื่อให้เป็นเกียรติแก่ 120 ปีของการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่แท้จริง และรำลึกถึงเหล่าผู้ขับขี่รอยัล เอนฟิลด์ทุกคนที่กล้าออกไปสำรวจโลก เหนือกว่าปกติ ทริปนี้คือการพยายามอย่างทะเยอทะยานที่จะขับขี่รถจักรยานยนต์ไปยังที่ที่ไม่เคยมีรถจักรยายนยนต์คันไหนได้ไปมาก่อน โดยเริ่มต้นที่เมืองเคปทาวน์ (Cape Town) ประเทศแอฟริกาใต้ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 การเดินทางนี้จะมีผู้ขับขี่รอยัล เอนฟิลด์ 2 คน ได้แก่คุณ Santhosh Vijay Kumar, หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมขับขี่ และกลุ่มผู้ขับขี่, รอยัล เอนฟิลด์ และ Dean Coxson, วิศวกรอาวุโสฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์, รอยัล เอนฟิลด์ พยายามไปให้ถึงขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ จากหิ้งน้ำแข็งรอสส์ ผ่านธารน้ำแข็งเลเวอเรตต์ ไปจนถึงสถานีวิจัยขั้วโลกใต้อามุนด์เซน-สก็อตต์ (Amundsen-Scott South Pole Station)
คุณวิมัล ซุมบ์ลี, หัวหน้าฝ่ายธุรกิจประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก, รอยัล เอนฟิลด์ กล่าวถึงจุดประสงค์ของการเดินทาง และอวยพรให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นว่า “รอยัล เอนฟิลด์ถือเป็นมรดกที่สืบทอดมายาวนานกว่า 120 ปี ซึ่งเติมพลังให้การสำรวจ พร้อมผลักดันขีดจำกัดของคน และเป็นคู่หูที่ดีให้กับนักสำรวจหลายคน การเดินทางและการผจญภัยของพวกเขาเป็นแรงบันดาลใจให้เราลองทำการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์แบบนี้เป็นครั้งแรก ความพยายามอย่างกล้าหาญและทะเยอทะยานในการขี่ไปยังจุดสิ้นสุดของโลกแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณของความทนทานของคน และเราหวังว่าการเดินทางจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีในฐานะการรำลึกถึงผู้ขับขี่รอยัล เอนฟิลด์ทุกคน และการเดินทางที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนอีกมากมายของพวกเขา”
เพื่อดำเนินการร่วมกับ Arctic Trucks รอยัล เอนฟิลด์ Himalayan 2 คันที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะจะถูกนำไปใช้สำหรับทริปนี้ Arctic Trucks เป็นสมาชิกของ International Association of Antarctica Tour Operators ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านความเชี่ยวชาญอย่างมากในด้านนี้ รวมถึงสำรวจพื้นที่มาแล้วกว่า 350,000 กิโลเมตรบนที่ราบสูงแอนตาร์กติก พวกเขาได้สนับสนุนและให้บริการการสำรวจ และกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์หลายครั้ง รวมถึงการสำรวจเชิงพาณิชย์ และองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐ (NGO) ในอดีต
เปิดตัวเมื่อปีค.ศ. 2016 รอยัล เอนฟิลด์ Himalayan แฝงไปด้วยความเรียบง่ายแต่มีความทนทานขั้นสูง ทั้งยังเอื้อต่อการใช้เดินทางไปในทุกที่ โดยการออกแบบได้รับแรงบันดาลมาจากประสบการณ์การขับขี่กว่าหลายสิบปีบนเทือกเขาหิมาลัย ที่ประกอบไปด้วยพื้นผิวที่มีความท้าทายกว่าหลายพันกิโลเมตรในการขับขี่ ดังนั้นรถจักรยานยนต์รุ่นนี้จึงสร้างมาเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะบนท้องถนนหรือพื้นผิวลูกรังที่ขรุขระ อีกทั้งเป็นคู่หูที่ตอบโจทย์การเดินทางทั่วโลกสำหรับผู้ขับขี่สายผจญภัย
และด้วยเหตุนี้เองรอยัล เอนฟิลด์ Himalayan ทั้ง 2 คันจึงได้ถูกนำมาแต่งใหม่เพื่ออัพเกรดการใช้งานให้สามารถขับขี่ท่ามกลางหิมะและน้ำแข็ง ทั้งยังต้องสามารถอยู่รอดในสภาพอากาศทรหดที่แอนตาร์กติก้าได้อีกด้วย โดยรถจักรยานยนต์ได้ผ่านการทดสอบสำหรับใช้เดินทางแบบทรหด และยากลำบากที่ธารน้ำแข็งลางโจกุล (Langjokull glacier) ในประเทศไอซ์แลนด์ เพื่อจำลองสภาพอากาศของแอนตาร์กติก้า ซึ่งได้ทดสอบขั้นที่ 1 เมื่อเดือนกันยายนปีค.ศ. 2020 และขั้นที่ 2 เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา
อย่างที่รู้กันดีว่ารอยัล เอนฟิลด์ Himalayan เป็นรถจักรยานยนต์ที่ครบเครื่องและมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ดังนั้นการอัพเกรดเพิ่มเติมมีเพียงไม่กี่จุดเท่านั้น เพื่อช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพของเครื่องให้สามารถทนทานต่อสภาพภูมิอากาศของแอนตาร์กติก้าให้อยู่หมัด ซึ่งการอัพเกรดประกอบไปด้วย การเปลี่ยนสเตอร์จาก 15 ฟันเป็น 13 ฟัน แทนเพื่อแรงบิดล้อหลังที่มากขึ้น และติดตั้งล้อแบบไม่มียางในพร้อมยางแบบหมุด เพื่อช่วยให้ยางรถสามารถวิ่งด้วยลมยางต่ำมากๆได้ และเพิ่มการทรงตัวบนหิมะแบบนุ่ม โดยยังสามารถให้การยึดเกาะที่เพียงพอบนพื้นผิวน้ำแข็งอีกด้วย นอกจากนี้ทีมงานยังได้ติดตั้งไดชาร์จที่มีกระแสไฟแรงมากขึ้นโดยอาศัยแม่เหล็กจากแร่แรร์เอิร์ธ เพื่อช่วยเพิ่มกำลังไฟ และยังสามารถนำกระแสไฟไปอุ่นอุปกรณ์ขับขี่ได้อีก
รถจักรยานยนต์ทั้ง 2 คันจะถูกขับขี่บนพื้นผิวหิมะที่อัดแน่นหิ้งน้ำแข็งรอสส์ ตลอดไปถึงขั้วโลกใต้ เพื่อลดแรงเสียดทาน และเป็นการจำกัดการปลอ่ยไอเสียออกมาให้น้อยที่สุด เพื่อให้การสำรวจในครั้งนี้ เป็นการสำรวจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่ทิ้งร่องรอยใดๆไว้ ยกเว้นแต่รอยยาง ที่จะสลายไปหลังจากการปกคลุมของละอองหิมะ
เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความคิดริเริ่ม #LeaveEveryPlaceBetter ของเรา ทีมงานต้องมั่นใจได้ว่าของเสียทั้งหมด รวมถึงขยะจากมนุษย์จะถูกนำกลับมากำจัดอย่างเหมาะสมในภายหลัง