ฟอร์ดเผย 5 เคล็ด (ไม่) ลับของการขับออฟโรด
การขับรถบนเส้นทางออฟโรดสุดโหดต้องใช้ทั้งความรู้ ทักษะ และความมั่นใจในการเดินทาง นักขับบางคนจึงอาจรู้สึกไม่มั่นใจว่าตนเองพร้อมสำหรับการขับรถออกนอกเส้นทางอันสะดวกสบายและทางเรียบที่คุ้นเคย แม้จะมีรถที่ขับเคลื่อน 4 ล้ออยู่ในครอบครองแล้วก็ตาม
กุญแจสำคัญในการปลดล็อกประสบการณ์การขับขี่ออฟโรด พร้อมตะลุยในสภาพแวดล้อมสมบุกสมบันอย่างปลอดภัยคือการเตรียมตัวและความเข้าใจในยานพาหนะและศักยภาพของยานพาหนะอย่างถ่องแท้ โดยรถกระบะอย่างเช่น ฟอร์ด เรนเจอร์ ได้รับการออกแบบมาโดยคำนึงถึงการใช้งานบนเส้นทางออฟโรดเป็นสำคัญ ด้วยความสูงจากพื้นถนน และมุมเงย มุมจาก ที่ออกแบบมาให้เอื้ออำนวยต่อการตะลุยผ่านสิ่งกีดขวาง รวมถึงระบบขับเคลื่อน 4 ล้ออันทรงพลัง พร้อมตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ในทุกด้าน
ด้วยคุณสมบัติข้างต้นประกอบกับสมรรถนะที่จะช่วยให้คุณบรรทุก ลากจูง หรือขับรถออกผจญภัยบนเส้นทางสุดโหด จึงทำให้ฟอร์ด เรนเจอร์ กลายเป็นเพื่อนคู่ใจของคอออฟโรดให้บุกตะลุยไปทุกที่ได้อย่างสนุกสนานและมั่นใจ
“การขับรถบนเส้นทางออฟโรดเป็นการเปิดประสบการณ์ให้เราได้ค้นพบสิ่งเราไม่เคยรู้มาก่อน” คุณนิดา ชัชวรัตน์ ผู้จัดการแบรนด์รถกระบะ ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าว “เมื่อมีรถกระบะอย่างฟอร์ด เรนเจอร์ ที่พร้อมตะลุยไปกับเราได้ในทุกเส้นทางแล้ว เราก็พร้อมเดินทางสร้างประสบการณ์ใหม่ๆได้อย่างสะดวกสบายและมั่นใจมากขึ้น”
สำหรับผู้ที่เพิ่งเป็นเจ้าของรถขับเคลื่อน 4 ล้อ การทำความเข้าใจว่าเมื่อไหร่ควรใช้อัตราทดความเร็วสูงหรือต่ำ หรือการทำความรู้จักระบบล็อกเฟืองท้ายว่ามีวิธีการใช้งานอย่างไรนั้น อาจไม่ใช่เรื่องง่าย ฟอร์ดจึงขอแบ่งปันเคล็ด (ไม่) ลับง่าย ๆ 5 ข้อที่จะช่วยให้คุณดึงศักยภาพของฟอร์ด เรนเจอร์ ออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่ในการขับขี่แบบออฟโรด
- ทำความเข้าใจการใช้อัตราทดความเร็วสูงและต่ำ (High and Low Range)
ฟอร์ด เรนเจอร์ มีระบบส่งกำลัง 2 ชุด ด้วยกัน ทำให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้ระบบขับเคลื่อนสองล้ออัตราทดความเร็วสูง (2H) ระบบขับเคลื่อนสี่ล้ออัตราทดความเร็วสูง (4H) หรือระบบขับเคลื่อนสี่ล้ออัตราทดความเร็วต่ำ (4L) ให้เหมาะสมกับสภาพเส้นทาง
เมื่ออยู่ในระบบ 2H รถจะขับเคลื่อนด้วยล้อหลังเท่านั้น ซึ่งถือเป็นโหมดการขับเคลื่อนปกติบนพื้นผิวเรียบ แต่เมื่อขับบนเส้นทางลูกรัง หรือบนพื้นผิวถนนที่ลื่น เช่นหลังฝนตก การเลือกระบบขับเคลื่อนแบบสี่ล้อจะช่วยให้รถยึดเกาะถนนได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ฟอร์ด เรนเจอร์ ยังมาพร้อมระบบ Shift on the fly ผู้ขับขี่สามารถเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนจากแบบสองล้อ (2H) เป็น 4H ได้โดยไม่ต้องหยุดรถ
อย่างไรก็ดี เมื่อผู้ขับขี่ต้องเดินทางผ่านเส้นทางที่ท้าทายมากขึ้น การเปลี่ยนมาใช้ระบบเกียร์แบบ 4L จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้รถค่อยๆ ขับเคลื่อนผ่านพื้นผิวขรุขระได้ดีกว่าด้วยอัตราทดเกียร์ต่ำที่ช่วยเพิ่มกำลังและแรงบิดมากขึ้น
- เลือกโอกาสในการใช้อัตราทดความเร็วต่ำ
การเลือกใช้อัตราทดความเร็วต่ำเป็นกุญแจสำคัญของการขับบนพื้นที่ลาดชัน ทรายลึก หิน หรือโคลนลึก เนื่องจากการใช้อัตราทดความเร็วต่ำหมายถึงการใช้งานที่เกียร์ต่ำ จึงเหมาะกับการขับบนทางขรุขระที่ใช้ความเร็วน้อยกว่าการขับบนพื้นผิวเรียบ หรือที่ความเร็วต่ำกว่า 40 กม. ต่อชั่วโมง
ในการเลือกระบบ 4L ให้จอดรถนิ่งสนิทแล้วขึงเปลี่ยนเกียร์ไปที่ N ก่อน จากนั้นจึงหมุนปุ่มเพื่อเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณส่วนล่างของกระปุกเกียร์ (สัญลักษณ์ 2H, 4H และ 4L) เมื่อมีไฟสัญญาณ 4L ขึ้นที่หน้าปัดควบคุมหลังพวงมาลัยแล้ว จึงเปลี่ยนเกียร์ไปที่ D แล้วออกรถอย่างช้าๆ
- ใช้ระบบล็อคเฟืองท้ายแบบ Rear Differential Lock เมื่อไหร่
เฟืองท้ายช่วยให้ล้อรถแต่ละล้อหมุนด้วยความเร็วที่ต่างกันได้เมื่อเข้าโค้ง โดยล้อฝั่งด้านนอกโค้งจะใช้วงเลี้ยวกว้างกว่าล้อที่อยู่ด้านในโค้ง
แต่เมื่อขับบนทางออฟโรด เฟืองท้ายทั่วไปอาจเป็นปัญหาในการขับขึ้นเนินหรือข้ามสิ่งกีดขวาง เนื่องจากเมื่อล้อยกลอยจากพื้นแล้ว เฟืองท้ายจะให้ความสำคัญกับล้อที่ลอยอยู่ ทำให้ล้อนั้นหมุนไปเรื่อยๆ อย่างไร้ประโยชน์ ส่วนล้อที่อยู่บนพื้นก็ไม่มีแรงพอที่จะขับเคลื่อนต่อไปได้
ระบบล็อคเฟืองท้ายแบบ Rear Differential Lock ของฟอร์ด เรนเจอร์ คือตัวช่วยล็อคล้อหลังทั้งสองด้านให้ได้รับแรงขับเคลื่อนเท่ากัน ดังนั้น เมื่อมีล้อใดล้อหนึ่งลอยอยู่ ล้ออีกข้างจะยังช่วยขับเคลื่อนให้รถเดินหน้าต่อไปได้
อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบล็อกเฟืองท้ายอาจไม่เหมาะในบางสถานการณ์ เช่น เมื่อต้องใช้วงเลี้ยวแคบๆ หรือเมื่อทั้งสี่ล้อสามารถรับน้ำหนักได้เท่ากัน รวมถึงการขับด้วยความเร็วสูงขึ้น และเมื่อขับบนทางลาดเอียง
- ใช้ระบบควบคุมความเร็วขณะลงเขา (Hill Descent Control: HDC) เมื่อไหร่
เมื่อต้องขับลงเนินลาดชัน เราขอแนะนำให้คุณเลือกใช้ระบบควบคุมความเร็วขณะลงเขาของฟอร์ด เรนเจอร์ (ปุ่มที่มีสัญลักษณ์รถขับลงเนิน) โดยผู้ขับขี่ต้องจอดรถและเปลี่ยนเกียร์ไปที่ P ก่อนเปิดใช้งาน
จากนั้นจึงเปลี่ยนเกียร์ไปที่ D แล้วค่อย ๆ ยกเท้าขึ้นจากแป้นเบรก ปล่อยให้รถคลานลงเนินช้าๆ แล้วเน้นใช้พวงมาลัยควบคุมทิศทางของรถ หากต้องการปรับความเร็ว ให้ใช้ปุ่ม Cruise Control (+/-) เพื่อเพิ่มหรือลดความเร็ว โดยระบบควบคุมความเร็วขณะลงทางลาดชันจะเหมาะสำหรับการขับขี่ด้วยความเร็วที่ไม่สูงนัก ที่ความเร็ว 5-32 กม. ต่อ ชม.
- การลดแรงดันลมยาง
หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการเพิ่มความสามารถในการขับบนเส้นทางออฟโรด และเพิ่มความนุ่มสบายภายในห้องโดยสารคือการลดแรงดันลมยาง โดยปริมาณลมยางที่จะปล่อยออกมานั้นขึ้นอยู่กับเส้นทางที่ขับ เราจึงแนะนำให้ผู้ขับขี่ตรวจสอบค่าแรงดันลมที่เหมาะสมกับเส้นทาง โดยข้อดีของการลดแรงดันลมยาง คือ
- พื้นผิวของล้อจะสัมผัสพื้นดินมากขึ้น ช่วยให้เกิดการกระจายน้ำหนักอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงมากขึ้น เหมาะกับการขับบนพื้นทรายหรือพื้นโคลน
- พื้นผิวยางดูดซับแรงกระแทกได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันล้อและส่วนต่างๆ ของล้อเมื่อขับบนพื้นที่ที่เป็นหินขรุขระ
- ช่วยมอบประสบการณ์การขับขี่ที่นุ่มนวลและสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อขับบนเส้นทางออฟโรด ยางที่อ่อนลงเล็กน้อยจะยึดเกาะพื้นผิวขรุขระเล็กๆ ได้ดีกว่า และลดแรงกระแทกภายในห้องโดยสารได้
หากคุณมีแผนจะปล่อยลมยางเพื่อขับบนเส้นทางออฟโรด อย่าลืมนำเครื่องเติมลมยางติดไปด้วยเพื่อเติมลมยางก่อนกลับมาขับบนถนนทางเรียบ การขับรถบนทางเรียบด้วยลมยางต่ำจะทำให้ควบคุมรถได้ยากทำให้ไม่ปลอดภัย อีกทั้งยังลดอายุการใช้งานของยางและส่งผลต่ออัตราการประหยัดน้ำมันอีกด้วย